ถึงเวลาหรือยัง? ห้องน้ำไม่แบ่งเพศ จุดประกายการถกเถียงในสังคมไทย


 เมื่อไม่นานมานี้ เกิดกระแสดราม่าในโลกโซเชียลจากกรณีเพจ สุขาธีสิส (Sukha Thesis) ของกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านอโศก โพสต์ถึงประเด็นการถกปัญหาที่กลุ่มคนความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ต้องเผชิญ เช่น ความยากลำบากในการเลือกเข้าห้องน้ำ จนนำไปสู่การถกเถียงถึงทางออกอย่าง “ห้องน้ำไม่แบ่งเพศ เป็นไปได้ไหมในสังคมไทย” ซึ่งเสนอให้บุคคลเข้าห้องน้ำตามเพศสภาพที่ปรากฏจากภายนอก หรือแม้กระทั่งสร้างห้องน้ำแบบใหม่ที่ไม่แบ่งแยกเพศใด ๆ


หลังจากโพสต์ดังกล่าวไวรัลไปทั่วอินเทอร์เน็ต ชาวโซเชียลต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ฝั่งที่เห็นด้วยสนับสนุนการสร้างห้องน้ำพิเศษแยกเฉพาะในกลุ่มคนความหลากหลายทางเพศ โดยมีคอมเมนต์อย่างเช่น:

  • “อีที่ค้านห้องน้ำ all gender ถ้านางปวดหลี้ แล้วห้องน้ำชายหญิงเต็ม ร้อยทั้งร้อยก็วิ่งมาใช้ห้องนี้ #เชื่อดิ”
  • “เห็นหรือยังว่าเมืองไทย ’ไม่ใช่สวรรค์ของ LGBTIQNA+’ นี่พูดมาตลอด.. รับรองเพศสภาพ? ห้องน้ำ all gender? ยังค้านกันยับ นี่ว่าสิ่งที่ควรที่สุดที่ต้องทำให้สำเร็จคือ แบบเรียนเรื่องความหลากหลายทางเพศในโรงเรียน เรียนกันตั้งแต่อนุบาลเลยค่ะ!! #ให้ฆวายกลายเป็นคน”


อย่างไรก็ตาม ฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกล่าวถึงการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพจนเกินสมควร โดยมองว่าอาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของเพศหญิงที่อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีปลอมแปลงเพศของตัวเองไปทำมิดีมิร้าย โดยมีคอมเมนต์เช่น:

  • “นี่คิดแล้วใช่ไหมคะ หรือยังไง”
  • “จะเอาให้ได้เลยห้องน้ำรวมเนี่ย”
  • “อยากได้ห้องน้ำไม่แบ่งเพศเขาเข้าห้องน้ำที่บ้านนะครับ”
  • “คุณภาพความคิดตามถิ่นกำเนิด”

ดราม่าดังกล่าวทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยว่า “ห้องน้ำไม่แบ่งเพศ” ควรมีหรือไม่ และการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในครั้งนี้ถือว่าเกินสมควรหรือไม่


ห้องน้ำไม่แบ่งเพศ