หวยเกษียณ คืออะไร?


 นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาประชาชนเข้าสู่วัยเกษียณโดยไม่มีเงินเก็บ ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นเพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มงบประมาณเบี้ยคนชรา เพราะในที่สุดงบประมาณจะไม่เพียงพอ


เพื่อแก้ปัญหานี้ กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานโยบาย "สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ" หรือ "สลากเกษียณ" (เรียกไม่เป็นทางการว่า "หวยเกษียณ") ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้นิสัยชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจให้ออมเงิน โดยสามารถถอนเงินที่ใช้ซื้อสลากทั้งหมดได้เมื่ออายุ 60 ปี


หวยเกษียณ คืออะไร?


หวยเกษียณ หรือชื่อทางการว่า "สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ" หรือ "สลากเกษียณ" เป็นนโยบายใหม่ที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาคนไทยเข้าสู่วัยเกษียณโดยไม่มีเงินเก็บ



นโยบายนี้ใช้งบประมาณเพียงปีละ 700 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่างบเบี้ยคนชราที่ใช้ปีละหลายแสนล้านบาทมาก สามารถเริ่มดำเนินการได้ในปี 2568 โดยแก้ไขกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)


สรุปรายละเอียดเบื้องต้นของสลากเกษียณ มีดังนี้:


  1. กอช. ออกสลากขูดดิจิทัล ใบละ 50 บาท ให้สมาชิก กอช. ผู้ประกันตน ม.40 และแรงงานนอกระบบซื้อไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน
  2. ซื้อได้ทุกวัน ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. ถูกรางวัลรับเงินทันที
  3. รางวัลแต่ละสัปดาห์: รางวัลที่ 1 มูลค่า 1 ล้านบาท 5 รางวัล และรางวัลที่ 2 มูลค่า 1,000 บาท 10,000 รางวัล
  4. เงินที่ใช้ซื้อสลากจะเป็นเงินออมในบัญชี กอช. ถอนได้เมื่ออายุ 60 ปี


นโยบายนี้จะช่วยแก้ปัญหาคนไทยแก่แต่จน โดยใช้แรงจูงใจจากการซื้อสลาก ซึ่งถูกกฎหมาย เงินไม่หาย และกลายเป็นเงินออมยามเกษียณ ยิ่งซื้อมาก ยิ่งมีโอกาสถูกรางวัลและมีเงินออมมาก

ปัจจุบัน กอช. มีสมาชิกประมาณ 3 ล้านราย คาดว่าหากมีสลากเกษียณ จะเพิ่มเป็น 16-17 ล้านราย โดยไม่กระทบการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล

นอกจากนี้ ยังมีการกระตุ้นการออมด้วยสลากออมทรัพย์จากธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ที่มีทั้งรางวัลเงินสดและทองคำ


หวยเกษียณ คืออะไร?